วันจันทร์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2555

Text Crawl - เลื่อนข้อความวิ่งด้านล่างจอ


Text Crawl  -  เลื่อนข้อความวิ่งด้านล่างจอภาพ  ต้องการให้วิ่งช้าให้ยืดเฟรมนั้นออกยาวๆ  ปรับไปมา ตามใจชอบได้
คือ  ข้อความด้านล่างจอ จะวิ่งจากทางขวาไปทางซ้ายจอ หรือจากซ้ายไปขวาก็ได้    ดังในจอทีวีที่นำเสนอข้อความอยู่ด้านล่างภาพข่าว  หรือเป็น ข้อความจาก SMS 


1.เมนู Title > Text Crawl > ตั้งชื่อไฟล์ > พิมพ์ข้อความใส่ช่องยาวเท่าใดก็ได้ กรอบของจอจะเลื่อนให้เรื่อยๆ  ลากดูได้ทั้งซ้ายขวา


2. เมื่อพิมพ์เสร็จแล้ว คลิ๊กช่องแรก(หมาย เลข 1 ในภาพ ) กล่องเลือกข้อความจะให้เคลื่อนไปทางซ้ายมือหรือขวามือก็ได้ มีปุ่มให้เลือก



. ปิดหน้าไตเติ้ล ไฟล์ก็จะ Save เข้ามาอยุ่ในช่อง Project โดยอัตโนมัติ  ลากไฟล์มาวางในไทม์ไลน์ช่องบนสุดของภาพ  ถ้ามีการใช้ไทม์ไลน์หลายช่องก็ให้เอาไว้ช่องบนที่สุด จะได้ไม่มีภาพมาใดบังข้อความ - ต้องการให้วิ่งช้าลงให้ลากเฟร มtext Crawl ให้ ยืดออก



Note :  ถ้าต้องการใช้ ไฟล์ข้อความแบบเดิม แต่ลืมทำมาสเตอร์แบบไว้ ให้เปิดไฟล์นั้นขึ้นมาและแก้ไขข้อความเสร็จแล้ว แทนที่จะปิด หน้าต่างTitle (ซึ่งมันก็จะทับไฟล์เดิม ก็จะเสีย)   ก็ให้ คลิ๊ก ที่ตัว ปุ่มตัว T  จะมีช่องมาให้ Save ไฟล์ ก็ตั้งชื่อใหม่เลย ไฟลืเดิมก็จะไม่ถูกทับ และไฟลืใหม่ก็จะใช้งานได้ต่อไป (ดูภาพประกอบ)


วันอาทิตย์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2555

Title Roll แบบ เลื่อนขึ้นจากด้านล่างไปถึงด้านบนจอ


Title Roll  แบบ เลื่อนขึ้นจากด้านล่างไปสุดด้านบนจอ
นิยมใช้เทคนิคนี้ตอนที่หนังจบ  นำเสนอรายชื่อนักแสดง  ผู้สร้าง ช่างภาพ  ผู้ช่วย ช่างเสียง  ประสานงาน  ผู้กำกับ   ผู้อำนวยการผลิต ดังตัวอย่าง
Directed
El Dorado
Produced
John Wayne
Executive Producers
Peter Cullen
Written
Michael Bay
Camera
Patchareewan Bd
Edited
Frank Welker
Cast
Leonard Nimoy
Mark Ryan
Music
Shia LaBeouf
Opening Title Design
Peter Cullen
Special Thanks To
Jess Harnell
Reno Wilson
Copyright
SAC@2012


1.เลือกเมนู Title > New Title > Default Roll  >  ตั้งชื่อไฟล์  แล้วคลิ๊ก OK


2. พิมพ์ข้อความลงไปเรื่อยๆ ก็จะต่อหน้าใหม่ไปเรื่อยๆ จนจบเครดิตปิดท้าย เลือกรูปแบบและพิมพ์ แยกสีสันได้ทุกตัว ทุกบรรทัด


ถ้าข้อความชิดกันเกินไปในแต่ละบรรทัดให้ปรับ  Leading  ปกติจะอยู่ที่ตำแหน่ง 0.0

ถ้าตัวหนังสือในแถวเดียวกันชิดเกินไปให้ปรับ  Aspect  ปกติจะอยู่ที่ตำแหน่ง 100.0




3.เมื่อเสร็จแล้วกดปิด เครื่องหมายกากบาท  - ไฟล์ end credit ก็จะปรากฏในช่อง Project ซ้ายมือบน
4. ลากไฟล์ นี้ลงมาใส่ ไทมไลน์  ( TL)



 
5. เมือเล่นดูข้อความก็จะเลื่อนขึ้นไปอย่างรวดเร็ว   เราต้องทำให้ข้อความเลื่อนช้าลง ให้พอดีอ่านได้ โดยการยืดแถบข้อความสีเทา บนไทม์ไลน์ออกไป ตามต้องการ ปรับสั้นยาวไปมา แล้วกด Play ดู  ถ้าเห็นว่าเลื่อนขึ้นพอดีอ่านได้และสวยงามก็ เสร็จสิ้น





 
รูปแบบการใส่ข้อความในเครดิต แบบมาตรฐาน  จาก BBC TV   ดูได้ที่ นี่ โปรดคลิ๊กที่ลิงค์

http://finalcut-v4.blogspot.com/2012/04/closing-credit-format.html




















การใส่ LOGO เข้าไปใน Title


การเตรียมโลโก้  -  โลโก้ที่เราจะใส่ให้ทำเป็นภาพโปร่งใส  ทำจากโฟโต้ชอปแล้วเซฟเป็น นามสกุล .png พื้นหลังไม่มี  เพื่อความสวยงามและพื้นหลังทะลุเห็นภาพจากวิดิโอได้
1 .เมนู Title เลือก LOGO              
 2.  เลือก Insert logo

3. เลือกไปยังโฟลเดอร์  ที่เราเก็บโลโก้ไว้ แล้วคลิ๊ก   open
 
4. โลโก้จะเข้ามาที่ช่อง Title เราสามารถปรับขนาดและลากไปวางไว้ ตรงไหนก็ได้


 การปรับขนาดโดยคลิ๊กที่ตัวโลโก้จะมีเส้นสีขาวและกล่องสี่เหลี่ยมรอบๆด้าน ปรับโดยจับกล่องสี่เหลี่ยมมุมทะแยง โลดก้ก็จะปรับทั้ง4 ด้านพร้อมกัน
ถ้าจับสีเหลี่ยมที่ไม่ใช่มุมทะแยง โลโก้ก็จะปรับด้านนั้นด้านเดียว ภาพจะผิดอัตราส่วนได้

การทำ Title ให้เป็น Template Master


การเก็บรูปแบบแถบและแบบอักษรที่เราออกแบบไว้ใน Template Master
 เพื่อเป็น ต้นฉบับสำหรับ หนังสารคดีของเราทั้งเรื่องซึ่งต้องใช้รูปแบบเดียวกัน  และเรียกใช้ได้ตลอด นำมาเปลี่ยนเพียงข้อความเท่านั้น
1. เลือก ช่อง Templates  หรือกด  Ctrl +J ตามภาพ  จะมีหน้าจอใหม่ขึ้นมา
2. คลิ๊กปุ่มสามเหลี่ยม ด้านบนกล่อง เทมเพลต
3. เลือก insert current title as template >   ตั้งชื่อไฟล์      > ok




4. งานที่เราออกแบบไว้ก็จะเก็บลงใน template ทันที สามารถเรียกใช้งานได้ ด้วย การเลือก เมนู template ขึ้นมา
แล้วเลือกชื่อไฟล์ รูปแบบที่ทำไว้ก็ปรากฏ ให้เราใช้งาน เปลี่ยนแต่เพียงข้อความได้เลย




 ต่อด้วยการใส่โลโก้

การใส่ตัวหนังสือ Title และ แถบต่างๆ


1. เลือกเมนู Title   >> New title >> Default Still - ไตเติ้ลนิ่งๆ ไม่เคลื่อนไหว 
 
2. ตั้งชื่อไตเติ้ล  ในช่อง >> OK


3.หน้าจอ Title จะแสดงขึ้นมา   ปุ่มด้านบน -ปิด เปิดได้  เพื่อเลือกโชว์ภาพจากวิดีโอเป็นพื้นหลัง แบ็ลคกราวน์ ได้ หรือเลือกปิดไม่โชว์ได้

4.ช่องต่างๆ ให้เลือกใช้งาน ช่องเครื่องมือ เลือก Text เลือกแถบ ต่างๆได้  จะใส่ข้อความให้เลือก T ซึ่งมีแบบทางด้านตั้ง ด้านนอน  เอียงดูที่สัญญลักษณ์


5. เลือกตัว T  สำหรับพิมพ์ ชื่อ เรื่อง  นำเม้าท์กดค้างไว้แล้วลากลงไปให้มีขนาดความยาวตามต้องการ
ฟ้อนต์ภาษาไทย ที่ใช้งานได้จะเป็นตระกู,ล  PSL  Ayyara ExtraBoldCS  พิมพ์ข้อความ ชื่อเรื่อง

6. หรือจะเลือกแบบที่มีไว้แล้วใน template ด้านล่าง แต่อย่าลืมต้องเปลี่ยนฟอนต์ตัวอักษรกลับให้เหมือนเดิมจะได้อ่านได้


7. สามารถใช้เม้าท์จับลาก ข้อความที่พิมพ์แล้วไปวางไว้ตรงไหนก็ได้ตามต้องการ
8. ใส่แถบสีลงไปเพื่อให้ตัวหนังสือเด่นขึ้น ให้เลือกช่องสี่เหลี่ยม ผืนผ้า หรือ ปลายตัดมน ก็ได้ตามต้องการ  เมื่อลากมาวางจะทับลงบนตัวหนังสือก็สั่งให้เรียงอยู่ด้านล่างสุดได้
 
9. โดยคลิ๊กขวาที่ สี่เหลี่ยมนั้น เลือก Arrange >> Send Backward


10. แถบสีขาวและขอบสีดำนั้นดูแล้วไม่สวยเราต้องการเอาออก ก็ปรับแต่งได้ที่ช่องขวามือ เรียกช่อง Properties,



- ปรับเปลี่ยนสี ที่ช่อง Fill - color เลือก =  สีดำ - เลือก Opacity = 70 %  (สีจางลง) (ติ๊กถูกหน้าช่องที่ต้องการใช้งาน)
 - ไม่เอา Strokes = ขอบสีดำที่แถบจะหายไป - ไม่เอา Shadow = เงาหายไป (เอาลูกศรถูกออกจากช่องที่ไม่ต้องการ)


นิยมใช้ทำ แถบข้อความด้านล่าง เพื่อใส่ชื่อคน ตำแหน่ง หรือ ชื่อรายการและ ขึ้นเป็น ระยะๆ ว่าเป็นรายการอะไร
สามารถปรับแกน X-Y ให้เอียง ได้ ตามภาพ ทดลองปรับแกนทั้งคู่ให้ เหมาะกัน 
อธิบายภาพ - กรอบเส้นสีขาว ซ้อนกัน 2 กรอบ หมายถึง กรอบ ที่ตัวข้อความจะปลอดภัยไม่หลุดออกจาก หน้าจอทีวีทุกขนาดทุกยี่ห้อ
ดังนั้นเวลาจัดวางตัวหนังสือให้ ดูกรอบในเป็นหลัก และถ้า ข้อความยาวมากจริงๆ ก็อาจเลยมาชิดกรอบนอกได้ แต่อย่าให้หลุดออกจากกรอบ เป็นอันขาด
 
วิธีเปิด  Safe Title margin
1.เลือกเมนู title > View>> เลือก Safe Title margin - กรอบสีขาวจางๆช่องในจะโชว์ขึ้นมา
2. กรอบด้านนอกเลือก  Safe Action margin
 

วันเสาร์ที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2555

Fade in - Fade out ภาพ และเสียง


การทำเฟรดอินและเฟรดเอ้าท์    Fade in Fade out ภาพ และเสียง


เราจะใส่เฟรดอิน (Fade In )คือ จากดำค่อยๆเลือนเห็นภาพวิดีโอ นิยมใช้ตอนเริ่มต้นเข้าหนัง หรือเปลี่ยนขึ้นฉากใหม่
ส่วนเฟรดเอ้าท์ (Fade out) คือ จากภาพวิดิโอจะค่อยๆเลือนไปจนเป็นภาพดำในที่สุด  นิยมใช้ตอนจบฉากหรือตอนนั้นๆ  หรือจบหนัง ทำได้ทั้งภาพและเสียง  เช่นเสียงก็จะค่อยๆดังขึ้นเรื่อยๆจนได้ยินชัดเจน  และเสียงก็จะลดลงเรื่อยๆจนเงียบไม่ได้ยินเลย

วิธีทำ และเครื่องมือ  - ใช้เครื่องมือ Pen Tool รูป  ปากกา  หรือ  เลือกตัว P เมื่อจะสร้างปุ่มคีย์เฟรมใช้  P + ปุ่ม Ctrl

 
2. คลิ๊กเปิดปุ่มโชว์  คีย์เฟรมในแถบภาพ (คีย์เฟรม  อักษรย่อ KF คือจุดที่เราจะเริ่มทำแทคนิคให้ภาพและจุดจบของเทคนิคนั้นๆ  )
ในกรณีนี้คือจะค่อยๆให้ภาพสว่างขึ้นจนเห็นภาพชัดเจน







 
3. คลิ๊กเปิดปุ่มโชว์  คีย์เฟรมในแถบเสียง (คีย์เฟรมคือจุดที่เราจะเริ่มทำแทคนิคให้ภาพและจุดจบของเทคนิคนั้นๆ)
ในกรณีนี้คือจะเฟรดเสียงให้ค่อยๆดังขึ้น จนปกติ








4. กด ปุ่ม page up เพื่อเลื่อนแถบเล่นมาจุดเริ่มต้นของเฟรม กด P + ปุ่ม Ctrl ลงไปที่เส้นสีเหลือง กลางแถบภาพและแถบเสียง
ก็จะเห็นจุดวงกลมเกิดขึ้นบนเส้นเหลือง จากนั้น กำหนดจุดที่เสียงจะเริ่มดังเป็นปกติ  ตามปกติแล้วจะใช้ระยะเวลาในการเฟรดเข้าประมาณ  5 วินาที  ( Trick กดปุ่มเล่นแล้วนับ 1ถึง5 วินาทีและหยุดเล่น ก็ให้กด P+Ctrl ลงตรงจุดนั้นเลย)







ปุ่ม Play ภาพ คือแป้น  Space Bar  กด 1 ครั้ง play -  กดอีก 1 ครั้ง หยุด  play ดูเส้นสีแดง และหัว Play รูปสามเหลี่ยมสีฟ้า
ที่วางบนตำแหน่ง Work Area

 
5. เอาเม้าท์ไปจับที่ปุ่ม KF ที่สร้างขึ้นในช่องภาพ แล้วลากลงมาจนสุดแถบ -ภาพก็จะมืดลง
6. เอาเม้าท์ไปจับที่ปุ่ม KF สร้างขึ้นในช่องเสียง ที่แล้วลากลงมาจนสุดแถบ -เสียงก็จะดับลง




7. การเฟรดเอ้าท์  เลื่อน play ไปจนสุดเฟรมภาพ ใช้ แป้น Page down  เลื่อนไปเรื่อยๆ ก็ได้  กด P+Ctrl  ที่เส้นแถบเหลืองของภาพ 2 จุด และเสียง 2 จุด  เอาเม้าท์จับที่จุดสิ้นสุดเฟรม แล้งลากลงมาจนเส้นเหลือง ติดแถบล่าง เสียงและภาพก็จะมืดดับลง ไปทั้งคู่